วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่ 8


กิจกรรมบทที่8

1.       สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ   การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น 
การนำหลักสูตรแม่บทมาปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น            เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต  โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545  (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2547 : 15) ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ     การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพ  ตลอดจนการศึกษาต่อ 
ดังนั้น สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องจัดทำสาระของหลักสูตร   ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว   ชุมชน  สังคม และประเทศชาติ  ดังนั้น  นอกจากโรงเรียนจะจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา แล้ว ยังต้องเพิ่มหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นที่โรงเรียนอยู่อีกด้วย  ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น  ก็คือ    “การดำเนินงานจัดทำ  ขยายเพิ่มเติมเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่กระทบต่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544  แต่เป็นการเสริมสร้างต่อยอดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพและนำไปสู่มาตรฐานของหลักสูตร” 
ลักษณะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น   3  ประเภท  คือ 
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยท้องถิ่นเองทั้งหมด   แต่ต้องเป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ ( หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  .. 2544 )   
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรแม่บทที่ส่วนกลางจัดทำ   ส่วนกลางของรัฐ  จัดทำหลักสูตรแม่บท  และเว้นที่ว่างให้ท้องถิ่นมีเสรีภาพในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น  โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544  มีแนวทางการพัฒนาได้เป็น  2  กรณี  คือ
1) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยบางส่วนของหลักสูตรแม่บท กล่าวคือ เป็นการปรับองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท เช่น ปรับรายละเอียดของสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติมกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ยังยึดมาตรฐานของหลักสูตรแม่บทอยู่ 
 2) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นเป็นรายวิชาใหม่ หรือการสร้างหลักสูตรย่อย เพื่อเสริมหลักสูตรแม่บท โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้เพิ่มเติมจากมาตรฐานของหลักสูตรแม่บท 
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาสำหรับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ   เป็นหลักสูตรที่หน่วยงานในท้องถิ่นพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะกิจ  และเป็นหลักสูตรระยะสั้น ๆ เพื่อใช้กับชุมชนหรือท้องถิ่นตามความต้องการและความสมัครใจของผู้เรียน  รวมทั้งความสอดคล้องกับสภาพสังคม  เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น  อาทิ  หลักสูตรซ่อมเครื่องยนต์  หลักสูตรทำขนม  หลักสูตรการทำอาหาร เป็นต้น 
ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่น 
ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่นก็เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นหลักสูตรระดับชาติ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการนำหลักสูตรระดับชาติมาปรับให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น   โรงเรียนแต่ละแห่งมีหน้าที่จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ เพราะชุมชนแต่ละชุมชนมีสภาพปัญหาและความต้องการแตกต่างกันท้องถิ่นควรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง
แนวทางในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น 
ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นนั้น สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ในลักษณะต่อไปนี้ 
1.               ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ในแต่ละกลุ่มวิชาในทุกระดับชั้นโดยปรับปรุง 
จากหลักสูตรแกนกลางโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ของหลักสูตรเปลี่ยนแปลง 
2.               ปรับรายละเอียดของเนื้อหาโดยเพิ่มหรือลดรายละเอียดจากหลักสูตรแกนกลาง 
3.               ปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่น 
4.               จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ เช่นหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์ 
แบบฝึกหัด หรือสื่ออื่น ๆเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหาและสภาพท้องถิ่นโดยสื่อเหล่านี้อาจใช้กับเนื้อในรายวิชาที่มีอยู่เดิมหรือรายวิชาใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็ได้ 
      5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลาง ทั้งนี้คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เนื้อหาและความต้องการของท้องถิ่น 
ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งในระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งได้มีนักวิชาการ ได้เสนอไว้ 12 ขั้นตอนดังนี้ 
ขั้นที่ 1     จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักสูตร 
ขั้นที่ 2     ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 
ขั้นที่ 3     กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร 
ขั้นที่ 4     กำหนดเนื้อหา 
ขั้นที่ 5     กำหนดกิจกรรม 
ขั้นที่ 6     กำหนดชั่วโมงการเรียน 
ขั้นที่ 7     กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล 
ขั้นที่ 8     จัดทำเอกสารหลักสูตร 
ขั้นที่ 9     ตรวจสอบคุณภาพและการทดลองใช้หลักสูตร 
ขั้นที่ 10   เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร 
ขั้นที่ 11    นำหลักสูตรไปใช้ 
ขั้นที่ 12    ประเมินผลหลักสูตร 

2.       ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร : ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model
ตอบ  กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด แบบจำลอง SU Model
https://sites.google.com/site/rupbaebwithikarsxnwithyasastr/_/rsrc/1488261465242/su-model/1391536_10202269123879840_1262761426_n.jpg?height=343&width=400

       SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
·       ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
·       ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
·       ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
               กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ  ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
              สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้น จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือ มีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือ การออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ และผลผลิตของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim) และจุดมุ่งหมาย (goal) ของหลักสูตร
              สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอนจะมีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
              สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น