วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปประเภทของหลักสูตร

ประเภทของหลักสูตร

นักวิชาการของประเทศไทยและต่างประเทศได้ทำการสรุปประเภทของหลักสูตรที่สำคัญไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่

1. หลักสูตรเนื้อหาวิชา (Subject Matter Curriculum or Subject Centered Curriculum)

ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระสำคัญได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เน้นที่เนื้อหาความรู้ไม่ได้เน้นที่ผู้เรียนผู้สร้างหลักสูตรจึงได้สร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความรู้และสาระสำคัญเป็นหลัก

2. หลักสูตรหมวดวิชา (Fusion or Fused Curriculum)

แยกออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ เช่น วิชาภาษาไทยประกอบด้วยรายวิชาย่อย ๆ ได้แก่ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย  เรียงความ เขียนจดหมาย อ่านเอาเรื่อง ไวยากรณ์ สายวิชาอื่น ๆ ก็แยกออกเป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เลขคณิต เรขาคณิต ฯลฯ การประเมินผลของการศึกษาหรือการเรียนรู้ของนักเรียนคือ การวัดความสำเร็จด้วยคะแนนความจดจำของเนื้อหาในแต่ละวิชา 

3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)

เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชานำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก


4. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Fields Curriculum)

หลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา(ซึ่งมีหลักสูตรหมวดวิชาหลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์)หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังคงใช้กันอยู่เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่านอกจากนี้แล้วการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถมและระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย 

5. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)

มีลักษณะคล้ายกับ หลักสูตรหมวดวิชา  หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกันแต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา 


6. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)

หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 


7. หลักสูตรบูรณาการ (Integration or Integrated Curriculum)

หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ
บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาหลักสูตร


ความสัมพันธ์ของการพัฒนาหลักสูตร

ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาของชีวิตและจักรวาลเพื่อหาความจริงอันเป็นที่สุด ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทั้งปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
                ปรัชญาการศึกษาคือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และสมเหตุสมผล
สามเหลี่ยมแห่งการศึกษา
                โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ K = ด้านความรู้ (Knowledge), L = ด้านผู้เรียน (Learner), S =  ด้านสังคม (Social) โดยในแต่ละด้านหลักจะกำกับด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่างๆ ดังนี้
·      1. ด้านความรู้ (K)
     ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ ความสามารถในการคิดความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา ความเชื่อความศรัทธาต่างๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการเป็นมนุษย์ หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะ ค่านิยม และวัฒนธรรม
      ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม (Perenialism) มีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งความสามารถในการใช้เหตุผลนี้จะควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำของมนุษย์ได้ เพื่อให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ปรารถนา ดังที่ โรเบิร์ต เอ็มฮัทชินส์ กล่าวว่า การปรับปรุงมนุษย์ หมายถึงการพัฒนาพลังงานเหตุผล ศีลธรรมและจิตใจอย่างเต็มที่ มนุษย์ทุกคนล้วนมีพลังเหล่านี้ และมนุษย์ควรพัฒนาพลังที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การศึกษาในแนวปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม คือ การจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรม และมีเหตุผล หลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์ (Liberal arts) ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มศิลปะทางภาษา (Liberacy arts) ประกอบด้วยไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน และการใช้เหตุผล อีกกลุ่มหนึ่งคือ ศิลปะการคำนวณ (Mathematical arts) ประกอบด้วยเลขคณิต วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ และดนตรี นอกจากนี้ยังให้ผู้เรียนรู้ผลงาน อันมีค่าของผู้มีอัจฉริยะในอดีตเพื่อคงความรู้เอาไว้ เช่น ผลงานอมตะทางด้านศิลปะ วรรณกรรม ดนตรีรวมทั้งผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในปัจจุบันได้แก่หลักสูตรของวิชา พื้นฐานทั่วไป (General education) ในระดับอุดมศึกษา
·    2. ด้านผู้เรียน (L)
    ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ทุกรูปแบบ หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ตลอดจนชีวิตประจำวัน เนื้อหา ได้แก่ สังคมศึกษา วิชาทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
·      3. ด้านสังคม (S)
    ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม และจะต้องทำอย่างรีบด่วน เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่
2.    พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
                ในการจัดทำหลักสูตรนั้น  นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง  ด้วยการศึกษาข้อมูล  พื้นฐานเกี่ยวกับตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร  มีความต้องการและความสนใจอะไร  มีพฤติกรรมอย่างไร  ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น  ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะละเลยมิได้ในการนำมาวางรากฐานหลักสูตร  เช่น  การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร  การกำหนดเนื้อหาวิชา  และการจัดการเรียนการรู้  เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสมที่สุด จิตวิทยาการเรียนรู้จะบอกถึงธรรมชาติของการเรียนรู้  การเกิดการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้  สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้มี  4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Behaviorism  2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Cognitivism 3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Humanism 4) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Constructivism โดยรายละเอียดของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มต่างๆ จะกล่าวถึงในหัวข้อทฤษฎีการเรียนรู้

การพัฒนาหลักสูตร

ทาบา (Taba)
สงัด อุทรานันท์
กู๊ด (Good)
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander)
สังเคราะห์ของ
จารุวรรณ
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร
ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า

“ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ

  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น

  การทำให้เกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรขึ้นใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับระบบการศึกษาให้ดีขึ้นและทันสมัย




คิดยกกำลังสอง ทักษะสำหรับโลกอนาคต

สรุปองค์ความรู้8

คิดยกกำลังสอง ทักษะสำหรับโลกอนาคต
การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และเป็นความท้าทายของเด็กในอนาคต เด็กยุคต่อไปต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทักษะที่สำคัญ
คือ ทำอย่างไรให้คนเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ดังนั้น ในศตวรรษที่ 21 การเรียนแบบท่องจำและการเรียนเพื่อรู้
แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียวจะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า 1i ไม่เพียงพอแต่ต้องปรับเป็น 4iทำให้การ
เรียนรู้ของผู้เรียนต้องเกิดสิ่งเหล่านี้กับตัวของเขาเอง ซึ่งประกอบด้วย
1. จินตนาการ (Imagination) หมายถึงความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้รับรู้ผ่านการ
มองเห็น การได้ยิน หรือผ่านวิธีการรับรู้อื่น ๆ จินตนาการถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการนำความรู้ไปใช้งานจริงและแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ และยังเป็นรากฐานในการรวมประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เข้าด้วยกัน
2. แรงดลใจ (Inspiration) หมายถึง พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใดๆ
ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรร
ทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้ แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ ถ้าจะช่วย
นำมาซึ่งผลสำเร็จที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ
3. ความเข้าใจลุ่มลึก (Insight) หมายถึง บุคคลเมื่อได้เห็นข้อมูลจำนวนมากๆ แล้วสามารถสังเคราะห์ข้อมูลจนมี
ความเข้าใจด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง
4. เกิดญานทัศน์ (Intuition) หมายถึง เป็นการเข้าถึงสภาวะจิตใจที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปัญญาญาณเป็น
ส่วนที่เป็นจิตเหนือสำนึก เป็นเรื่องของการหยั่งรู้ เป็นการรับรู้แบบปิ๊งแว้บ เป็นการรู้ที่ก้าวข้ามตรรกะและเหตุผลทักษะแห่ง
โลกอนาคตหรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ที่ต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนนั้นมีองค์ประกอบ ซึ่งใช้ตัวย่อว่า ASK มีรายละเอียด ดังนี้
1. A (Attitude) เป็นเรื่องของทัศนคติ อุปนิสัยความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
2. S (Skill) เป็นเรื่องของทักษะ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะการทำงานต่างๆ มีความอดทน อด
กลั้นต่อสิ่งต่างๆ
3. K (Knowledge) เป็นเรื่องของความรู้ การคิดเชิงวิพากษ์ และการเรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง
ปัจจุบัน สถานศึกษาต่างๆ ให้ความสำคัญกับตัว K หรือ ตัวความรู้มากไปหน่อย ควรให้ความใส่ใจกับเรื่องของ A(Attitude) และ S (Skill) ให้มากขึ้น ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงโดยให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้นหรือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในลักษณะของ Active Learning การสอนโดยการ Lecture หรือให้ผู้เรียนนั่งฟังอย่างเดียว มีผลการศึกษา พบว่า ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไม่เกินร้อยละ 20 ถ้าสอนโดยการเล่นจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร้อยละ 20-75แต่ถ้าจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าร้อยละ75 ขึ้นไป สถานศึกษาต้องบริหารจัดการเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ต้องเรียนรู้แบบฉลาดขึ้นหรือ Smart ขึ้น
ดังนั้น ห้องเรียนต้องเปลี่ยนไป ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนและสิ่งแวดล้อมภายนอกห้องเรียนซึ่งรวมหมายถึงสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องและจริงจังต่อไป
กล่าวโดยสรุป โลกใบใหม่เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม เด็กในโลกอนาคตต้องเตรียมการทำงานที่ยังไม่มี ใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อการแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ การสร้างทักษะโลกอนาคต โลกในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเรียนรู้จากการ “ทำ” หรือ “การลงมือปฏิบัติจริง” และต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายจึงเป็นคำพูดที่ไม่ผิดนักสำหรับทักษะของโลกอนาคตจะเกิดขึ้นและเป็นจริงได้ บุคคลที่สำคัญบุคคลหนึ่งคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และทักษะเพื่อความสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ที่ต้องเกิดขึ้นตามแนวคิดของวิโรจน์ สารรัตนะ (2556: 75-77) มีรายละเอียด ดังนี้
1. ความคาดหวังสูง (high expectation) ผู้นำสถานศึกษาที่มีวิสัยทัศน์จะมุ่งความสำเร็จของผู้เรียนทุกคนและจะใช้
ความพยายามเพื่อให้บรรลุผลในความเชื่อนั้น ผู้เรียนจะถูกท้าทายด้วยหลักสูตรที่มีลักษณะเข้มงวด (rigorous curriculum)
ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อความก้าวหน้า หรือกับรายวิชาที่ไม่คุ้นเคย การมุ่งศึกษาในระดับวิทยาลัยและการศึกษา
ต่อเนื่องอย่างจริงจัง
2. ให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายพื้นฐาน (a focus on the fundamentals) สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้
(learning) จึงเป็นจุดมุ่งหมายพื้นฐาน เป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทุกสิ่งทุกอย่างจึงมุ่งการบรรลุจุดมุ่งหมายนั้น
3. ความสามารถพิเศษในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (a talent for collaborative problem solving) ความ
ร่วมมือนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และความสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษาที่ฉลาดจะสร้างความเป็นหุ้นส่วนให้เกิดขึ้น
ในทุกระดับของสถานศึกษาเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาและแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ มาใช้
4. มีจิตมุ่งสร้างสรรค์ (an inventive mind) ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ทั้งในการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผล การงบประมาณ และอื่นๆ จนกล่าวได้ว่า เป็นผู้นำในแถวหน้าในเรื่องเทคโนโลยี
5. ความสามารถในการแปลความข้อมูล (the ability to read data’s story) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรู้คุณค่าของข้อมูลที่ดีและนำมาใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษา สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว นำสู่การปฏิบัติ และประเมินผลเพื่อวัดผลสำเร็จ
6. ความสามารถในการบริหารเวลาและความใส่ใจ (a gift for directing time and attention) ผู้นำสถานศึกษาในปัจจุบันและในอนาคตจำเป็นต้องมีการบริหารเวลา (time management) และการมอบอำนาจ (delegation) เนื่องจากสถานศึกษามีภารกิจมากมาย ทั้งงบประมาณ บุคลากร ผู้เรียนและครอบครัว การพัฒนาวิชาชีพ เทคโนโลยี และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทุกกรณีต้องทำด้วยใจรัก (with heart) ที่มุ่งสู่ความสำเร็จของผู้เรียนนอกเหนือจากทักษะสำหรับโลกอนาคตที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องปรับบทบาทตนเองให้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ต้องมีคุณลักษณะที่โดดเด่นและบทบาทในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติในอนาคตบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย
1. ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กำหนดให้มีการกำกับดูแลด้านการบูรณาการการเรียนการสอนต่อการ
ประยุกต์นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ และการประเมินผลได้แก่ การให้คำแนะนำแนวคิดใหม่ๆ สำหรับครูผู้สอนเกี่ยวกับการใช้ห้องเรียนที่มีประสิทธิผล การสนับสนุนให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับปัจจัยภายในและภายนอกโรงเรียน
2. การนำรูปแบบทางดิจิตอลมาสนับสนุนการเรียนการสอนของครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้แก่ นำไปใช้ใน
ห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนใช้เครื่องมือทางดิจิตอลอย่างมีประสิทธิผลและใช้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประเมินความ
พร้อมของสถานศึกษาที่จะนำทักษะทางดิจิตอลมาใช้งาน
3. ให้โอกาสครูได้พิจารณาไตร่ตรอง กำหนดจุดมุ่งหมายและการร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมืออาชีพในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงแล้วสามารถนำมาเป็นโอกาส ได้แก่ ให้ครูกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน และด้านการประเมิน และให้นำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้อย่างมืออาชีพได้อย่างแท้จริง
4. จัดสภาพแวดล้อมบนพื้นฐานยึดการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และความรู้สึกที่ดีต่อชุมชน ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการสอนและการเรียนรู้ด้านทักษะในศตวรรษที่ 21กำหนดให้จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือยืดหยุ่นภายในสถานศึกษาและชุมชนนอกจากนี้ควรเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ด้านโลกให้มากขึ้น และออกแบบทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มโอกาส การพัฒนาทักษะการคิดทักษะชีวิต และทักษะอาชีพและเตรียมผู้เรียนสำหรับการทำงานในอนาคตไปพร้อมๆ กันในอีกทัศนะหนึ่งเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ประกอบด้วย
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องมีทักษะและความสามารถในการบริหารความเปลี่ยนแปลงให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ตระหนักถึงศักยภาพของสถานศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2. เป็นนักแก้ปัญหา ผู้บริหารต้องนำยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมและเหตุการณ์มาใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาต่างๆ ในองค์กร ผู้บริหารควรมีการศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ มีการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ โดยคำนึงถึงการบรรลุผลในวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาเป็นหลัก
3. เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล ที่สนับสนุนต่อการพัฒนาการสอนและผลลัพธ์การเรียนรู้ในโรงเรียน คือ ผู้นำต้องนำโดยยึดหลักคุณธรรมในการบริหาร มีความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นผู้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งต้องเป็นผู้นำทาง
วิชาการและเป็นผู้สนับสนุนไปพร้อมๆ กัน
กล่าวโดยสรุป ทักษะสำหรับโลกอนาคตเป็นสิ่งจำเป็นทั้งในส่วนของตัวผู้เรียนและในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาด้วยการบริหารจัดการในอำนาจหน้าที่ของตนเองเพื่อผลักดันให้ครูผู้สอนเข้าใจบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สนับสนุนการพัฒนาครูผู้สอนอย่างต่อเนื่องสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากที่สุดทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมด้านจิตวิทยา และสิ่งแวดล้อมของชุมชนสังคม ผู้บริหารจึงยังมีบทบาทสำคัญใน
การผลักดันให้ผู้เรียนเกิดทักษะสำหรับโลกอนาคตที่เป็นจริงต่อไป

•หลักสูตร: นิยาม ความหมาย•

Ø สรุป(Summary)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องคำนึงถึงสังคม ปรัชญาการศึกษา และผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาหลักสูตรจะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันนับแต่นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร ครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักพัฒนาหลักสูตรที่จะให้การหลักสูตรดำเนินไปจนบรรลุผลสูงสุด
ทฤษฎีหลักสูตรที่ได้มาจากศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่างๆ เพื่อ อธิบายเหตุผลการได้มาขององค์ความรู้ การรักษาไว้และการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลได้อย่างไร ทฤษฎีหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักพัฒนาหลักสูตรกำหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกำหนดคำทำนายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้สามารถพัฒนาหลักสูตร การนำหลักวิชา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน  เทคนิค และวิธีการต่างๆ วิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์

ทฤษฎีหลักสูตร





•หลักสูตรนิยาม ความหมาย•

                “หลักสูตร” หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ 

สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม หลักสูตร ตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตรมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
4.หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น 

ทฤษฎีหลักสูตร นิยาม ความหมาย 

                “ทฤษฎี (Theory) มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์

•ความสำคัญของทฤษฎี•



                ตาททัศนะของโบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 11) กล่าวว่า ความสำคัญของทฤษฎีจะช่วยให้เราเข้าใจ 3 ประการ ได้แก่ (1.) บอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ (2.) อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (3.) ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

•การสร้างทฤษฏีหลักสูตร•

                โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories

1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)

การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
 
               Zais (1976: 431-437) ได้สรุปการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร แบบ คือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanisticdesign) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่า คนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทาง ได้แก่


1.) ความมีเหตุผล (Rationalism) นำไปสู่ความจริง
2.) การสังเกต (Empiricism) รับรู้ได้จากการมอง การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส
3.) สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าว
4.) อำนาจ (Authoritarianismเช่น ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์บอกไว้


2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories

                ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรและระบบหลักสูตร

                ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร 

                ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น 


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
           กระบวรการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำ ซึ่งแบ่งสามเหลี่ยมใหญ่ออกเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ สี่ช่อง หมายถึง 4 ขั้นตอนในกระบวนการ


                ช่องแรก ส่วนบนสุด อยู่ติดกับมุมความรู้ คือ "การวางแผนหลักสูตร" (Curriculum Planning)
                อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามแรกคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร ต้องมีการกำหนดจุดมุ่หมายของหลักสูตร


                ช่องที่สอง อยู่ที่มุมของผู้เรียน หรือมุมซ้าย คือ "การออกแบบหลักสูตร" (Curriculum Design)
                เป็นการนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ โดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือมีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการและด้านการพัฒนาผู้เรียน 


                ช่องที่สาม เป็นส่วนของ "การจัดระบบหลักสูตร" (Curriculum Organize) ซึ่งอยู่ตรงส่วนของสามเหลี่ยมตรงกลางที่เป็นเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมช่องแรก โดยในทางปฎิบัตินั้นการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์คือ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน จะมีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม


                 ช่องสุดท้ายสามเหลี่ยมรูปี่สี่ คือส่วนของขั้นตอน "การประเมิน" (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม

หลักสูตรบูรณาการขนมสอดไส้







วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

ความรู้เพิ่มเติม บทที่3

ความรู้เพิ่มเติม บทที่3


คุณสมบัติหลักสูตรที่ดี
     หลักสูตรเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของหลักสูตรที่ดีจะต้องนำไปสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา หลักสูตรที่ดีมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษา
2. ตรงตามลักษณะของพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน
3. ตรงตามลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์ของชาติ
4. เนื้อหาสาระเรื่องที่สอนเพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนคิดเป็น                     และมีพัฒนาการในด้านต่างๆ
5. สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ ต้องจัดวิชาทักษะ และวิชาเนื้อหาให้เหมาะสม
6. หลักสูตรที่ดีต้องสำเร็จจากการร่วมมือของทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ผลดีควรจัดให้เป็นคณะกรรมการ
7. หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อไป และจะต้องเรียงลำดับความยากง่ายไม่ให้ขาดตอนออกจากกัน
8. หลักสูตรที่ดีต้องส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหา
9. หลักสูตรที่ดีต้องจัดประสบการณ์ที่ดีและกิจกรรมหลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกอย่างเหมาะสมตามความสนใจ ความต้องการ และความสามารถของแต่ละคน
10. หลักสูตรที่ดีต้องวางกฎเกณฑ์ได้อย่างเหมาะสม นำไปปฏิบัติ และวัดประเมินผลได้อย่างสะดวก

ประเภทของหลักสูตร
1. หลักสูตรบูรณาการ      เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆมาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้   ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น 

รูปแบบการบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2.บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3.บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้

2.หลักสูตรกว้าง  
          มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรกว้าง
1. จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ   ที่นำมารวมกันไว้
3.โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า 

ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรกว้าง
ข้อดี
-  เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมีความสัมพันธ์กัน         ดีมากยิ่งขึ้น
ในการสอน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ข้อเสีย
-   ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน

3. หลักสูตรประสบการณ์
      เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรประสบการณ์
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและเค้าโครงหลักสูตร
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจเรียนกัน
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
ปัญหาสำคัญของหลักสูตรประสบการณ์
1. ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรนี้นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้แทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลักการกำหนดเนื้อหาจึงทำได้ยาก
2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆกันทุกปี ได้มีการแก้ไขโดยการจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะตารางสอนเหล่านั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในปีใหม่ ควรทำอะไรกัน

4.หลักสูตรรายวิชา
     เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรรายวิชา
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3. จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ เป็นสำคัญ
4. โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา 

ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรรายวิชา
ข้อดี
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
-  เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
-  การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
-   การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย 
ข้อเสีย
-หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
-หลักสุตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลัก เหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
-หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้ 

5. หลักสูตรแกน
      เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร

สรุปใจความสำคัญของหลักสูตรแกน
        หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตรแกน จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก

6.
 หลักสูตรแฝง
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้หลักสูตรแฝงกับการเรียนรู้พฤติกรรมจิตพิสัย
โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่ และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด  และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้ ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น

7. หลักสูตรสัมพันธ์รายวิชา
เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้ เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อห้าที่ต้องการ

วิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี
1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์ เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง 

8. หลักสูตรเกลียวสว่าน
เป็นการจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
ที่มาแนวคิดหลักสูตรเกลียวสว่าน
          บรูเนอร์ (Bruner)  มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้าง และการจัดระบบที่แน่นอนจึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบจากง่ายไปหายาก จากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวนหรือเกลียวสว่าน คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็ก
 Bruner

แนวคิดหลักสูตรเกลียวสว่านของดิวอี้
ดิวอี้ (Dewey) มีความเชื่อว่า การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญาจากการแก้ปัญหาเหล่านี้ เขาจะได้ความคิดใหม่ๆจากการทำงาน
Dewey

9.หลักสูตรสูญ
เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก โดยไอส์เนอร์  เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2ประเด็น คือ
      1. กระบวนการทางปัญญา ที่โรงเรียนเน้นและละเลย เป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรูสิ่งต่างๆ ไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
      2. เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร

การนำแนวคิดหลักสูตรสูญไปปรับใช้
เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตร ก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิง ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันที จากตัวอย่างการพิจารณา นำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น ต้องถือว่าต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษา จะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา 

สรุปเนื้อหาสาระประเภทหลักสูตร
ความคิดเกี่ยวกับ “ประเภทของหลักสูตร” ที่กล่าวมานี้ จะมีประโยชน์ต่อการประเมินผล และการวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการช่วยให้นักพัฒนาหลักสูตรได้หันมาพิจารณาหลักสูตรให้ครบอีกครั้งว่า จุดหมายและเนื้อหาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้วนั้นเหมาะสมแล้วหรือยัง มีเนื้อหาในกระบวนการคิด และความรู้สึกประเภทใดที่เป็นประโยชน์ และสำคัญควรที่ผู้เรียนรู้ แต่ไม่มีในหลักสูตรก็จะได้ประชุมหารือกันระหว่าง นักพัฒนาหลักสูตร และผู้รับผิดชอบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป