สัปดาห์ที่4





1. หลักสูตรบูรณาการ

ป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวม ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป การผสมผสานเนื้อหาของวิชาต่างๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกันทำได้หลายวิธี ซึ่งจะได้ชี้ให้เห็นต่อไปอย่างไรก็ตามที่มีการจัดทำหลักสูตรบูรณาการขึ้นไม่ใช่เพียงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรหลายวิชาเท่านั้น



2. หลักสูตรกว้าง
  หลักสูตรกว้าง (The  Broad-Field  Curriculum) เป็นหลักสูตรอีกแบบหนึ่งที่พยายามแก้ไขจุดอ่อนของหลักสูตรรายวิชา  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ  ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ  ทุกด้าน



3. หลักสูตรประสบการณ์
    หลักสูตรประสบการณ์ (The Experience Curriculum) เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร พื้นฐานความคิดของหลักสูตรนี้มีมาตั้งแต่สมัยรุซโซ (Rousseau) และเพลโต (Plato)



4. หลักสูตรรายวิชา
หลักสูตรรายวิชา (The Subject Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิมไม่เฉพาะแต่ในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทยก็ได้ใช้หลักสูตรแบบนี้มาแต่ต้น การที่เรียนกว่าหลักสูตรรายวิชาก็เนื่องจากโครงสร้างของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน สำหรับเนื้อหาที่คัดมาถือว่าเป็นเนื้อหาที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้




5. หลักสูตรแกน
หลักสูตรแกน (The Core Curriculum) ถือกำเนิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณปี         ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุผลสองประการ คือ ความพยายามที่จะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ หรือพูดง่ายๆ ก็คือความพยายามที่จะให้หลุดพ้นจากการเป็นหลักสูตรรายวิชา ประการหนึ่ง และความพยายามที่จะดึงเอาความต้องการและปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร อีกประการหนึ่ง
              แรกทีเดียวได้มีการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มารวมกันเข้าเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่าหมวดวิชา ทำให้เกิดหลักสูตรแบบกว้างขึ้น แต่หลักสูตรนี้มิได้มีส่วนสัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการของสังคมมากนัก ดังนั้นจึงมีผู้คิดหลักสูตรแกนเพื่อสนองจุดหมายที่ต้องการ



6. หลักสูตรแฝง (Hidden Curriculum)
 หลักสูตรแฝง เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าและเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้ จากนิยามนี้สามารถอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจดีขึ้นโดยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมดังนี้ ในทางเปิดเผยโรงเรียนสอนคณิตศาสตร์และจัดให้เด็กชายหญิงเรียนรู้ การอ่าน การเขียน การสะกดคำและอื่นๆ แต่โรงเรียนและครูได้สอนหลายสิ่งหลายอย่างโดยไม่ตั้งใจจากการสอนตามหลักสูตรปกติในรูปของกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมา และเรียนรู้จากสภาพการณ์และเงื่อนไขเชิงสังคมและเชิงกายภาพที่โรงเรียนจัดให้ เป็นต้นว่าสอนนักเรียนให้ทำงานตามลำพังในเชิงของการแข่งขัน หรือให้นักเรียนทำงานด้วยกันเป็นกลุ่ม สอนให้นักเรียนเป็นผู้กระทำหรือเป็นถูกกระทำ ให้รู้จักพอใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงพื้นๆ หรือให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอื่นๆ สรุปสั้นๆ และตรงประเด็นก็คือ ครูหรือโรงเรียนสอนค่านิยมให้แก่เด็กอย่างแอบแฝง หรือโดยไม่ตั้งใจ



7. หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (The Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ แรกทีเดียวการแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาใช้ เช่น ให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อแก้ข้อบกพร่องของหลักสูตรที่เน้นเรื่องผู้สอนเป็นผู้สั่งการหรือจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน แต่การปรับปรุงด้านเทคนิคการสอนไม่ได้ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่ว่า หลักสูตรรายวิชามีขอบเขตแคบเฉพาะวิชา และยังมีลักษณะแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยๆ อีกด้วย





8. หลักสูตรเกลียวสว่าน    (Spiral Curriculum)
 หลักสูตรเกลียวสว่าน หรือบันไดวน (Spiral Curriculum) หมายถึง การจัดเนื้อหาหรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้นๆ จะสอนในเรื่องง่ายๆ ตื้นๆ แล้งค่อยๆ เพิ่มความยากและความลึกลงไปเรื่อยๆ ตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ




9. หลักสูตรสูญ ( Null Curriculum)
 หลักสูตรสูญหรือ Null Curriculum เป็นความคิดและคำที่บัญญัติขึ้นโดยไอส์เนอร์ (Eisner,1979)แห่งมหาวิทยาลัยแตนฟอร์ด   สหรัฐอเมริกา หลักสูตรสูญ เป็นชื่อประเภทของสูตรที่ไม่แพร่หลาย และไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในระหว่างนักการศึกษา และนักพัฒนาหลักสูตรด้วยกัน
   เขาได้นิยามหลักสูตรสูญว่า   เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น